......ผมเกิดที่อำเภอเมือง ไม่ใช่เมืองสุรินทร์ ไม่ใช่เมืองศรีสะเกษ แต่เป็นเมืองขุขันธ์ครับ คนบ้านผมเรียกขุขันธ์ว่า เมือง (ขุขันธ์) แต่เรียกอำเภอและจังหวัดอื่นโดยออกชื่อเฉย ๆ ไม่ขึ้นต้นโดยคำว่า เมือง ผมมารู้เมื่อโตแล้วว่า ที่เรียกขุขันธ์ขึ้นได้ด้วยคำว่า เมือง ก็เพราะว่า ขุขันธ์ เคยเป็นจังหวัดเก่าของศรีสะเกษ เรียกว่า จังหวัดขุขันธ์ แม้จะย้ายที่ตั้งจังหวัดมาอยู่ที่ศรีสะเกษตั้งแต่ปี 2447 ก็มาเปลี่ยนเป็นจังหวัดศรีสะเกษ เมื่อปี 2451 นี่เอง (ศรีศักร วัลลิโภดม : 2551 : 79)
......ผมเกิดที่บ้านเสลา ตำบลใจดี (ขณะนั้น ปัจจุบันแยกเป็นตำบลโคกเพชร) บ้านเสลาเป็นที่ราบลุ่มห้วยสำราญ มีลำห้วย 2 ลำมาบรรจบกัน มีบ้านเสลาเป็นโนนอยู่ตรงกลาง จึงมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร ผมได้ฟังมาว่าฤดูน้ำหลาก ปลาจะเริ่มร้องสะสม เป็นที่อัศจรรย์ ................หาดูหาฟังไม่ได้ในปัจจุบัน
แม่ผมบอกว่า ผมเกิดวันเสาว์ เดือน 4 ปีชวด ข้างแรม และเป็น.......... ผมมาเปิดปฏิทินร้อยปีดู ปรากฏว่าตรงกับวันที่ 6 กันยายน 2491 แต่ทะเบียนบ้านผมลงว่า ผมเกิดปี 2491 เอกสารทางโรงเรียนลงว่า เกิด 6 กันยายน 2491 ผมไม่ขวนขวายจะแก้ไข เพราะไม่คิดว่าจะรับราชการจนถึงวันเกษียณ
......ในวัยเด็กผมเกือบไม่ได้เรียนหนังสือ เพราะเหตุว่า ครองครัวผมย้ายถิ่นที่อยู่ มาอยู่ที่อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ตั้งแต่ประมาณปี 2492 เป็นหมู่บ้านใหม่ หมู่บ้านเล็ก ๆ ขึ้นต่อเขตปกครองบ้านกะปู ต.สำเดา (ขณะนั้น ปัจจุบัน ต.สะเดา ขึ้นกับอำเภอบัวเชด) ชื่อบ้านกันจาญ บ้านผมจึงไม่มีโรงเรียนต้องไปเรียนที่บ้านกะปู ซึ่งห่างออกไป 3 กิโลเมตร ช่วงปี 2499 เป็นป่าเป็นดง ทางถนนไม่มีไม่ง่ายมีเสียงเด็ก ๆ ที่จะเดินทางไปเรียน พบคงมีบุญเก่าช่วยจึงเรียนจบ ป.4 มาได้คนเดียว นอกนั้นก็เลิกไปเรียนหลังจากผมไปเรียนต่อที่อำเภอสังขะ พวกเขาจึงอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้จนทุกวันนี้
......ผมได้รับแรงกระตุ้นจากพี่ชาย ผลักดันพ่อแม่ให้ส่งลูกไปเรียนต่อ พ่อผมไปฝากเป็นศิษย์วัดโพธาราม อ.สังขะ โรงเรียนก็คือโรงเรียนสังขะ แต่เป็นสังขะเดิมที่ยุบรวมกับสังขะวิทยาคม ไม่ใช่สังขะมัธยมในปัจจุบัน (ในปี 2551 อาคารเรียนสมัยนั้นยังอยู่)
......ผมอยู่วัดโพธาราม 2 ปี (2504-2505) พอปีสุดท้ายจะขึ้น ป.7 นายอำเภอสังขะ (คุณพ่ออรุณ คุณแม่บุญเลิศ) ไปขอผมมาเป็นเด็กรับใช้ที่บ้านท่าน ซึ่งผมได้แสดงความสามารถ มีความรับผิดชอบดีมาก (ในขณะนั้นผมรู้สึกว่างานหนัก ขมและขื่นมาก) ด้วยความดีอย่างนี้กระมัง ท่านจึงฝากต่อไปยังผู้มีอุปการคุณคนต่อไป
คนแรกที่ท่านจะฝาก ก็คือ คุณลุงเชาว์ คุณป้านิเทศก์ ศรีสรสิทธิ์ บ้านอยู่ข้างสามเหลี่ยม เยื้อง ๆ หน้าเทศบางเมืองสุรินทร์ ติดกับโรงกลึงสหะยนต์ไทย ลุงเชาว์ทำงานที่เทศบาล ป้าเทศน์ขายของที่ตลาดสด บ้านท่านทำเป็นคล้ายหอพัก มีนักเรียนจากต่างอำเภอส่วนใหญ่ก็จากสังขะ มาอยู่โดยเสียเงินคนละ 200-300 บาทต่อเดือน แต่เฉพาะผมจะได้อยู่ฟรี
......แต่ช่วงเดียวกัน มีนายตำรวจ คือ ร.ต.อ.นิพนธื สันตพงษ์ ย้ายจากอำเภอจอมพระมาเป็นผู้บังคับกอง สภอ.สังขะ คงจะมีบุญเก่าร่วมกัน คุณพ่ออรุณได้เอยปากฝากต่อคุณพ่อนิพนธ์ก็รับ ช่วงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น (มศ.1-3) ที่โรงเรียนสุรวิทยาคาร ผมจำได้อยู่กับครอบครัวคุณพ่อนิพนธ์ คุณแม่เพลิน
จันท์ สันตพงษ์ อยู่ฟรี กินฟรี (แต่รับผิดชอบงานบ้านรับใช้ท่าน ตามความสามารถ) จนจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
......ผมเรียนที่วิทยาลัยครูอุบลฯ (2510-2511) เมื่อผมอยู่ปีหนึ่ง ท่านผอ.สิงห์ทอง สิงหพรพงศ์ อยู่ปี 3 ช่วง 2 ปี นั้น จึงเรียนทราบเหตุการณ์ของวิทยาลัยมาด้วยกัน เหตุการณ์ณ์หนึ่งที่ดังมาก คือ เหตุการณ์ที่อาคาร 8 (ไพรพยอม)
ช่วยแรกผมอยู่ที่อาคาร 1. (อมรพิมาน) หอพักษี ก็มีสุระ ประยงค์หอม มียรรยง อุทธา ฯลฯ สองคนนี้เสมอต้นเสมอปลายจนบัดนี้
......ผมอยู่ที่หออมรพิมาน 1 ภาคเรียน ได้ย้ายไปบ้านเกษตร ซึ่งเป็นเขตการเกษตรของวิทยาลัยได้ช่วยงานของวิทยาลัย ดูแลการเลี้ยงไก่ การเลี้ยงหนู การปลูกพืชผัก และได้อยู่ฟรี กินฟรีจนจบการศึกษา
......ผมได้รับซึมซับอุดมการณ์ครูบ้านนอกมาเต็มหัวใจ เมื่อจบ ป.ก.ศ.ต้น ก็ออกมาเป็นครู เริ่มต้นที่โรงเรียนบ้านเถกิง อ.สังขะ (ปี 2512) เป็นโรงเรียนใหม่เอี่ยม คือเปิดเริ่มในปี 2512 นั้นเอง เมื่ออยู่ได้หนึ่งปี ทางอำเภอโดยศึกษาบุญศรี บุญสุยา ประกาศหาครูอาสาไปอยู่โรงเรียนของชายแดน(เขมร) ผมจึงได้ย้ายไปที่โรงเรียนบ้านลันแต้ ต.ดม แต่ที่นี่แทนที่ว่ากันดารยากลำบาก กลับสบายกว่าเยอะ เพราะว่า ถนนลูกรังเข้าไปถึง รถบัสวิ่งเข้าเมืองสุรินทร์ไปเช้าเย็นกลับ ผมอยู่ได้สามเดือนก็เกิดเหตุต้องย้าย ด้วยว่ามีครูหญิงท่านหนึ่งบรรจุใหม่ จะไปลงที่โรงเรียนบ้านหนองโจงโลง ทราบว่าที่นั้นยุ่งยากมาก ลำบากกว่าบ้านลันแต้ จึงมีการทาบทามผมให้ไปแทน โดยมีข้อเสนอให้เป็นครูใหญ่ด้วย ผมจึงเริ่มต้นเป็นครูใหญ่ในปี 2513
......โรงเรียนบ้านหนองโจงโลง (ต.สะเดา อ.สังขะ ในขณะนั้น ขณะนี้ ต.กะเพอโร อ.บัวเชด) มีครู 2 คน (ครูใหญ่,ครูน้อย) สภาพอาคารแย่กว่าศาลาวัด อาคารเอียงพื้นเป็นไม้เนื้อแข็งวางเรียงไว้ มีรูโหว่อยู่ทั่วไป เวลาเดินต้องระวัง อยู่ไปได้เกือบปีเกิดมีเหตุมีครูคนหนึ่งเป็นอันต้องหาคดีอาญา จึงเหลือผมเพียงคนเดียว เด็ก 128 คน ชั้น ป.1-4 การสอนคนเดียวไม่ง่าย แต่ด้วยความห้าวหาญ อายุ 20 ปี ผมสอนอยู่คนเดียวได้ 8 เดือน เริ่มมองหาพี่เลี้ยง และแล้วหัวใจครูบ้านก็พ่ายแพ้
......ผมสมัครรับคัดเลือกไปเรียนต่อระดับ ป.กศ.สูง ที่วิทยาลัยครูนครราชสีมา ที่นี่ก็มีเพื่อนรุ่นน้อง เช่น คุณอร่าม บูรณ์เจริญ รอง ผอ. สวค. ผมเรียนอยู่ 1 ปี ก็สอบได้วุฒิ พ.ม. ซึ่งถือว่าสูงกว่า ป.ก.ศ.สูง จึงกลับมาและได้ย้ายมาอยู่โรงเรียนจตุคามวิทยา โรงเรียนของหมู่บ้านตัวเอง โรงเรียนตั้งขึ้นในปี 2511 โดยพี่ชายผมเป็นครูใหญ่คนแรก ซึ่งเวลานี้หมู่บ้านได้ขยายออกจากบ้านกันจาญเดิมออกมาอยู่ที่เนิน น้ำไม่ท่วม แตกออกเป็นหลายหมู่บ้าน ที่เป็นหลัก ๆ ก็คือ บ้านตราด บ้านโคกกรวด บ้านโคกระเภาว์ บ้านกันจาญ (เดิม) ต.พระแก้ว ยังไม่แยกเป็น ต.ตาคง คำว่า จตุคามวิทยา ผมเป็นคนเสนอชื่อเอง ใช้ชื่อกลาง ๆ จะได้ไม่ทะเลาะกัน
ต้นปี 2518 ผมลองไปสอบเรียนต่อระดับปริญญา ทดสอบความสามารถครูบ้านนอก ที่ มศว.ประสานมิตร ปรากฏว่าสอบได้ที่ 1 ในเอกสารประถมศึกษา ก็เริ่มมั่นใจว่าเรียนมหาวิทยาลัยไม่ได้ยาก
เกินกว่าจะไขว่คว้า แต่แทนการตั้งใจเรียนในห้อง อย่างที่คนที่..................... ใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยได้คุ้มค่า ผมกลับทำกิจกรรมหนัก โดยเฉพาะกิจกรรมทางการเมือง เมื่อเกิดเหตุการณ์ 16 ตุลา 2519 ผมก็เกือบเข้าป่า
......แต่หลังจากตรึกตรองแล้วว่า แนวความรุนแรง แนวสงครามนั้นเราไม่ได้สะสมไว้ในหัวใจ (เราไม่ชอบ) เราชอบแบบอย่างของ มหาตมะคานธี ชอบแนวทางของประเทศสแกนดิเนเวีย (สวีเดน นอร์เว ฟินแลนด์, เราจึงไม่เข้าป่า เมื่อกลับมาจึงอยู่ไม่สุขนัก แต่ก็เหมือนมีบุญเก่าช่วย คุณพ่ออรุณ คุณแม่บุญเลิศ จึงช่วยให้ย้ายมาอยู่อำเภอจอมพระ
......ผมอยู่ในกลุ่มคนที่ไม่เอาดีเรื่องความรัก เรียนปริญญาตรีแล้วก็จีบสาวไม่เป็น ไม่มีแฟน ชีวิตสมรสของผมเป็นไปตามผู้ใหญ่เสนอแนะให้ ซึ่งผมก็เชื่อฟังผู้ใหญ่ ประกอบกับสถานการณ์ทางการเมือง ทำให้ผมต้องหลบภัย เจียมเนื้อเจียมตัว มีผู้ใหญ่คุ้มครองจะปลอดภัยกว่า ผมจึงย้ายมาอยู่โรงเรียนบ้านปะ อ.จอมพระ
ที่โรงเรียนบ้านปะ ผมมีความสุขมาก มีคุณครูทวีโชค งามชื่น ครูทวีชัย ชาวสวน ครูฉวีวรรณ ประจันทร์ และครูขาว จินดาศรี เป็นครูช่วยสอย เด็ก ๆ แทบจะไม่ขาดเรียนเลย สอนง่าย ชาวบ้านสนับสนุนดีมาก ผมมองเห็นความดีของชาวส่วยบ้านปะ และเริ่มมองความดีของชาวส่วนทั่ว ๆ ไป
......ผมอยู่โรงเรียนบ้านปะ ได้ 1 ปี มีอันต้องย้ายที่ทำงาน โดยหมวดการศึกษาขอให้ไปเป็นวิชาการอำเภอ วิชาการอำเภอก็คือศึกษานิเทศก์นี่แหละ ผมเปิดตำราว่าด้วยการนิเทศก์ ก็พบว่า การนิเทศคือการช่วยเหลือครู (ทางวิชาการ) แต่ภาคปฏิบัติกับภาคทฤษฎีจะขัดแย้งกัน ผมทำหน้าที่ไม่ค่อยดีนัก ในปีนี้ (2521) หน่วยศึกษานิเทศก์จังหวัดสุรินทร์รับสมัครคัดเลือกเป็นศึกษานิเทศก์ ผมตั้งใจจะเป็นศึกษานิเทศก์ แต่เขากำหนดเงินเดือนระดับ 4 (C 4) ผมไปเรียนต่อ 2 ปี เงินเดือนไม่ขึ้นอยู่ 2 ปี เงินเดือนต่ำกว่า C4 อยู่ 1 ขั้น ก็เลยไม่ได้เป็นศึกษานิเทศก์
......ปี 2522 ผมลองไปสอบเรียนต่อปริญญาโท ทดสอบความรู้ตัวเองว่า จบมหาวิทยาลัยมาด้วยเกรด 2.23 จะสอบได้ไหม ผลปรากฏว่าสอบได้ จึงตัดสินใจเรียนต่อและก็เอาตัวรอดจบออกมาได้
ปี 2525 หลังการเปลี่ยนโครงสร้างเป็น สปช. มีการสอบคัดเลือกเป็นผู้ช่วยหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ ผมก็ลองสอบก็ได้เป็นผู้ช่วยหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ เริ่มต้นจากอำเภอจอมพระ สำโรงทาบ เมืองสุรินทร์ ศีขรภูมิ จอมพระ ชุมพลบุรี ผมรู้สึก..........ว่า การสอบเรียนต่อง่ายมาก สอบครั้งเดียวได้ แต่สอบเป็นหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ ผมสอบไม่ได้ ผมจึงเป็นผู้ช่วยฯ อยู่นานมากถึง 17 ปี ในที่สุดผมก็ได้เป็นหัวน้าการประถมศึกษาอำเภอ ในปี 2542
......ผมเริ่มเป็นหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอที่ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ที่นี้มีความสุขมาก สุขกับธรรมชาติ ป่าเขา ที่ยังอุดมสมบูรณ์ เทียบกับปี 2512 หลายโรงเรียนไปได้ด้วยจักรยานยนต์และเดินเท้า เรื่องรถยนต์โดยสารประจำทางหาไม่ได้ หลายหมู่บ้านประชาชนพูดภาษาไทยกลางไม่ได้
ปี 2543 ผมกลับมาและเริ่มจาก อ.ลำดวน และย้ายไปชุมพลบุรี ที่ชุมพลบุรีปี 2544 ประทับใจมาก ที่ว่าชุมพลบุรีไม่มีโจร ที่นั้นเกิดเหตุ โจรขโมยโทรทัศน์โรงเยนไปถึง 17 โรง ตำรวจยืนยันว่าชุมพลบุรีไม่มีโจร และก็จริง เพราะเมื่อจับโจรได้ เป็นโจรจากอำเภอสตึก จ.บุรีรัมย์
......ปี 2545 ผลย้ายมา อ.สำโรงทาบ และปี 2546 ผมย้ายมาก อ.จอมพระ และเข้าสู่เขตพื้นที่การศึกษา
เมื่อเข้าสู่เขตพื้นที่การศึกษา หัวหน้าการประถมศึกษา ศึกษาธิการอำเภอ ก็ หาตำแหน่งไม่ได้ หาอนาคตไม่เจอ ผู้อาวุโสหลายคนจึงอำลาชีวิตราชการ ผมก็เกือบไปแต่ทางครอบครัวยับยั้งไว้ จึงอยู่มาจนถึงวันนี้
ทำไมต้องมังสะวิรัติ
......ผมตั้งต้นเจ้าวัดปฏิบัติธรรม เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2529 ที่อำเภอสำโรงทาบ ด้วยแรงสะเทือนจาก พลตรีจำลอง ศรีเมือง นักปฏิบัติธรรมที่สมัครรับเลือกตั้ง เป็นผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานคร ผมจึงถือวันที่สมเด็จย่าเสร็จฯ เยือนราษฎรที่บ้านหนองฮะ อ.สำโรงทาบ และได้รับหนังสือเล่มเล็กเล่มหนึ่งที่ชื่อว่า พระพุทธเจ้าสอนสอนอะไร ผมเริ่มต้นที่วัดป่าหนองไผ่ล้อม อ.สำโรงทาบ ด้วยการทำวัดเย็น นั่งสมาธิทุกวัน และเริ่มต้นรักศีล โดยไม่รู้ตัว..... ผ่านไป 1 ปี ด้วยจริตแท้ของผมคือ ชอบการบำเพ็ญประโยชน์ ชอบกิจกรรมครบวงจร การปฏิบัติธรรมต้องครบพร้อมที่เกี่ยวกับชีวิตเสียงกับสังคม ประกอบกับได้ไปพบ............สนทนาธรรม กับพระสงฆ์ที่พุทธศาสนาศรีษะอโศก ผมจึงเริ่มหันมาทางปฏิบัติตามแนวทางของชาวอโศก
......นั่นคือการประพฤติปฏิบัติแต่งอย่างมีหลักมีเหตุมีผล การกินมังสะวิรัติเป็นการไม่เบียดเบียนสัตว์ เป็นความเมตตากรุณาต่อสัตว์ เป็นการแผ่เมตตาที่แท้จริง เหนือกว่าปากพูด” สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด........... เป็นสุขได้อย่างไร เมื่อมนุษย์ ที่อ้างว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ เบียดเบียนเขา ฆ่าเขาทุกวัน ถ้าชาวพุทธรักษาศีลข้อ 1 ได้ชาวพุทธจะเอาเนื้อสัตว์ที่ไหนมากินทำไมต้องเป็นผู้บริหารการศึกษา
......เมื่อผมเป็นครูใหญ่ ครูน้อย และภารโรง โรงเรียนบ้านหนองโจงโลง ในปี 2514 ........................... ก็คือ กำลังใจ ผมคิดว่าถ้าผมเป็นบริหารการศึกษา ผมจะเป็นผู้สนับสนุนส่งเสริม ให้กำลังใจแก่ผู้บริหารโรงเรียนและครู ให้เป็นนักรบทางการศึกษา รบอย่างองอาจ กล้าหาญ แต่เอาเข้าจริงผมก็ทำได้ไม่ดีนัก แต่ยืนยันได้ว่า ผมรักและเห็นใจโรงเรียนขนาดเล็กมากที่สุด เพราะซาบซึ้งมาด้วยตนเอง
ความสำเร็จหรือความล้มเหลว
......ชีวิตจากรากหญ้า ลูกชาวนา จากบ้านนอก เติบโตมาได้ขนาดนี้ ถือว่าเกินคุ้ม อาจได้กำไรเกินควรด้วยซ้ำ บทเรียนชีวิตมีสิ่งที่ควรแก่การปรับปรุง แก้ไขมากมาย ที่แก้ไขได้ก็แก้ไข แต่ถ้าแก้ไขชาตินี้ไม่ได้ หากชาติหน้ามีก็จะพยายาม ความตั้งใจที่จะสร้างประโยชน์สุข แก่งมหาชนทั้งหลาย เป็นสิ่งที่ดีและสมรรถภาพกายใจยังต้องสร้าง ควรเรียนรู้พัฒนาตนเองตามแนวพุทธให้ยิ่งกว่านี้ ชีวิตส่วนปัจเจกบุคคลอาจดูดี มีความสุข แต่หากมองไปยังพี่น้องประชาชน ชาวนาชาวไร่ เพื่อนฝูงสมัยเด็ก ๆ อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ เป็นชาวนาชาวไร่ยากไร้ ฝนแล้งทำนาทำไร่ไม่ได้ ฝนหนักน้ำท่วมข้าวเสียหายหมด ปุ๋ยแคมีขึ้นราคา 3 เท่า ราคาข้าวกำหนเองไม่ได้ ใครจะช่วยชาวนาได้ ควรเก็บไปตอบในชาติข้างหน้า (ถ้ามี)
......ผมเกิดที่บ้านเสลา ตำบลใจดี (ขณะนั้น ปัจจุบันแยกเป็นตำบลโคกเพชร) บ้านเสลาเป็นที่ราบลุ่มห้วยสำราญ มีลำห้วย 2 ลำมาบรรจบกัน มีบ้านเสลาเป็นโนนอยู่ตรงกลาง จึงมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร ผมได้ฟังมาว่าฤดูน้ำหลาก ปลาจะเริ่มร้องสะสม เป็นที่อัศจรรย์ ................หาดูหาฟังไม่ได้ในปัจจุบัน
แม่ผมบอกว่า ผมเกิดวันเสาว์ เดือน 4 ปีชวด ข้างแรม และเป็น.......... ผมมาเปิดปฏิทินร้อยปีดู ปรากฏว่าตรงกับวันที่ 6 กันยายน 2491 แต่ทะเบียนบ้านผมลงว่า ผมเกิดปี 2491 เอกสารทางโรงเรียนลงว่า เกิด 6 กันยายน 2491 ผมไม่ขวนขวายจะแก้ไข เพราะไม่คิดว่าจะรับราชการจนถึงวันเกษียณ
......ในวัยเด็กผมเกือบไม่ได้เรียนหนังสือ เพราะเหตุว่า ครองครัวผมย้ายถิ่นที่อยู่ มาอยู่ที่อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ตั้งแต่ประมาณปี 2492 เป็นหมู่บ้านใหม่ หมู่บ้านเล็ก ๆ ขึ้นต่อเขตปกครองบ้านกะปู ต.สำเดา (ขณะนั้น ปัจจุบัน ต.สะเดา ขึ้นกับอำเภอบัวเชด) ชื่อบ้านกันจาญ บ้านผมจึงไม่มีโรงเรียนต้องไปเรียนที่บ้านกะปู ซึ่งห่างออกไป 3 กิโลเมตร ช่วงปี 2499 เป็นป่าเป็นดง ทางถนนไม่มีไม่ง่ายมีเสียงเด็ก ๆ ที่จะเดินทางไปเรียน พบคงมีบุญเก่าช่วยจึงเรียนจบ ป.4 มาได้คนเดียว นอกนั้นก็เลิกไปเรียนหลังจากผมไปเรียนต่อที่อำเภอสังขะ พวกเขาจึงอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้จนทุกวันนี้
......ผมได้รับแรงกระตุ้นจากพี่ชาย ผลักดันพ่อแม่ให้ส่งลูกไปเรียนต่อ พ่อผมไปฝากเป็นศิษย์วัดโพธาราม อ.สังขะ โรงเรียนก็คือโรงเรียนสังขะ แต่เป็นสังขะเดิมที่ยุบรวมกับสังขะวิทยาคม ไม่ใช่สังขะมัธยมในปัจจุบัน (ในปี 2551 อาคารเรียนสมัยนั้นยังอยู่)
......ผมอยู่วัดโพธาราม 2 ปี (2504-2505) พอปีสุดท้ายจะขึ้น ป.7 นายอำเภอสังขะ (คุณพ่ออรุณ คุณแม่บุญเลิศ) ไปขอผมมาเป็นเด็กรับใช้ที่บ้านท่าน ซึ่งผมได้แสดงความสามารถ มีความรับผิดชอบดีมาก (ในขณะนั้นผมรู้สึกว่างานหนัก ขมและขื่นมาก) ด้วยความดีอย่างนี้กระมัง ท่านจึงฝากต่อไปยังผู้มีอุปการคุณคนต่อไป
คนแรกที่ท่านจะฝาก ก็คือ คุณลุงเชาว์ คุณป้านิเทศก์ ศรีสรสิทธิ์ บ้านอยู่ข้างสามเหลี่ยม เยื้อง ๆ หน้าเทศบางเมืองสุรินทร์ ติดกับโรงกลึงสหะยนต์ไทย ลุงเชาว์ทำงานที่เทศบาล ป้าเทศน์ขายของที่ตลาดสด บ้านท่านทำเป็นคล้ายหอพัก มีนักเรียนจากต่างอำเภอส่วนใหญ่ก็จากสังขะ มาอยู่โดยเสียเงินคนละ 200-300 บาทต่อเดือน แต่เฉพาะผมจะได้อยู่ฟรี
......แต่ช่วงเดียวกัน มีนายตำรวจ คือ ร.ต.อ.นิพนธื สันตพงษ์ ย้ายจากอำเภอจอมพระมาเป็นผู้บังคับกอง สภอ.สังขะ คงจะมีบุญเก่าร่วมกัน คุณพ่ออรุณได้เอยปากฝากต่อคุณพ่อนิพนธ์ก็รับ ช่วงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น (มศ.1-3) ที่โรงเรียนสุรวิทยาคาร ผมจำได้อยู่กับครอบครัวคุณพ่อนิพนธ์ คุณแม่เพลิน
จันท์ สันตพงษ์ อยู่ฟรี กินฟรี (แต่รับผิดชอบงานบ้านรับใช้ท่าน ตามความสามารถ) จนจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
-2-
......ผมเรียนที่วิทยาลัยครูอุบลฯ (2510-2511) เมื่อผมอยู่ปีหนึ่ง ท่านผอ.สิงห์ทอง สิงหพรพงศ์ อยู่ปี 3 ช่วง 2 ปี นั้น จึงเรียนทราบเหตุการณ์ของวิทยาลัยมาด้วยกัน เหตุการณ์ณ์หนึ่งที่ดังมาก คือ เหตุการณ์ที่อาคาร 8 (ไพรพยอม)
ช่วยแรกผมอยู่ที่อาคาร 1. (อมรพิมาน) หอพักษี ก็มีสุระ ประยงค์หอม มียรรยง อุทธา ฯลฯ สองคนนี้เสมอต้นเสมอปลายจนบัดนี้
......ผมอยู่ที่หออมรพิมาน 1 ภาคเรียน ได้ย้ายไปบ้านเกษตร ซึ่งเป็นเขตการเกษตรของวิทยาลัยได้ช่วยงานของวิทยาลัย ดูแลการเลี้ยงไก่ การเลี้ยงหนู การปลูกพืชผัก และได้อยู่ฟรี กินฟรีจนจบการศึกษา
......ผมได้รับซึมซับอุดมการณ์ครูบ้านนอกมาเต็มหัวใจ เมื่อจบ ป.ก.ศ.ต้น ก็ออกมาเป็นครู เริ่มต้นที่โรงเรียนบ้านเถกิง อ.สังขะ (ปี 2512) เป็นโรงเรียนใหม่เอี่ยม คือเปิดเริ่มในปี 2512 นั้นเอง เมื่ออยู่ได้หนึ่งปี ทางอำเภอโดยศึกษาบุญศรี บุญสุยา ประกาศหาครูอาสาไปอยู่โรงเรียนของชายแดน(เขมร) ผมจึงได้ย้ายไปที่โรงเรียนบ้านลันแต้ ต.ดม แต่ที่นี่แทนที่ว่ากันดารยากลำบาก กลับสบายกว่าเยอะ เพราะว่า ถนนลูกรังเข้าไปถึง รถบัสวิ่งเข้าเมืองสุรินทร์ไปเช้าเย็นกลับ ผมอยู่ได้สามเดือนก็เกิดเหตุต้องย้าย ด้วยว่ามีครูหญิงท่านหนึ่งบรรจุใหม่ จะไปลงที่โรงเรียนบ้านหนองโจงโลง ทราบว่าที่นั้นยุ่งยากมาก ลำบากกว่าบ้านลันแต้ จึงมีการทาบทามผมให้ไปแทน โดยมีข้อเสนอให้เป็นครูใหญ่ด้วย ผมจึงเริ่มต้นเป็นครูใหญ่ในปี 2513
......โรงเรียนบ้านหนองโจงโลง (ต.สะเดา อ.สังขะ ในขณะนั้น ขณะนี้ ต.กะเพอโร อ.บัวเชด) มีครู 2 คน (ครูใหญ่,ครูน้อย) สภาพอาคารแย่กว่าศาลาวัด อาคารเอียงพื้นเป็นไม้เนื้อแข็งวางเรียงไว้ มีรูโหว่อยู่ทั่วไป เวลาเดินต้องระวัง อยู่ไปได้เกือบปีเกิดมีเหตุมีครูคนหนึ่งเป็นอันต้องหาคดีอาญา จึงเหลือผมเพียงคนเดียว เด็ก 128 คน ชั้น ป.1-4 การสอนคนเดียวไม่ง่าย แต่ด้วยความห้าวหาญ อายุ 20 ปี ผมสอนอยู่คนเดียวได้ 8 เดือน เริ่มมองหาพี่เลี้ยง และแล้วหัวใจครูบ้านก็พ่ายแพ้
......ผมสมัครรับคัดเลือกไปเรียนต่อระดับ ป.กศ.สูง ที่วิทยาลัยครูนครราชสีมา ที่นี่ก็มีเพื่อนรุ่นน้อง เช่น คุณอร่าม บูรณ์เจริญ รอง ผอ. สวค. ผมเรียนอยู่ 1 ปี ก็สอบได้วุฒิ พ.ม. ซึ่งถือว่าสูงกว่า ป.ก.ศ.สูง จึงกลับมาและได้ย้ายมาอยู่โรงเรียนจตุคามวิทยา โรงเรียนของหมู่บ้านตัวเอง โรงเรียนตั้งขึ้นในปี 2511 โดยพี่ชายผมเป็นครูใหญ่คนแรก ซึ่งเวลานี้หมู่บ้านได้ขยายออกจากบ้านกันจาญเดิมออกมาอยู่ที่เนิน น้ำไม่ท่วม แตกออกเป็นหลายหมู่บ้าน ที่เป็นหลัก ๆ ก็คือ บ้านตราด บ้านโคกกรวด บ้านโคกระเภาว์ บ้านกันจาญ (เดิม) ต.พระแก้ว ยังไม่แยกเป็น ต.ตาคง คำว่า จตุคามวิทยา ผมเป็นคนเสนอชื่อเอง ใช้ชื่อกลาง ๆ จะได้ไม่ทะเลาะกัน
ต้นปี 2518 ผมลองไปสอบเรียนต่อระดับปริญญา ทดสอบความสามารถครูบ้านนอก ที่ มศว.ประสานมิตร ปรากฏว่าสอบได้ที่ 1 ในเอกสารประถมศึกษา ก็เริ่มมั่นใจว่าเรียนมหาวิทยาลัยไม่ได้ยาก
เกินกว่าจะไขว่คว้า แต่แทนการตั้งใจเรียนในห้อง อย่างที่คนที่..................... ใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยได้คุ้มค่า ผมกลับทำกิจกรรมหนัก โดยเฉพาะกิจกรรมทางการเมือง เมื่อเกิดเหตุการณ์ 16 ตุลา 2519 ผมก็เกือบเข้าป่า
-3-
......แต่หลังจากตรึกตรองแล้วว่า แนวความรุนแรง แนวสงครามนั้นเราไม่ได้สะสมไว้ในหัวใจ (เราไม่ชอบ) เราชอบแบบอย่างของ มหาตมะคานธี ชอบแนวทางของประเทศสแกนดิเนเวีย (สวีเดน นอร์เว ฟินแลนด์, เราจึงไม่เข้าป่า เมื่อกลับมาจึงอยู่ไม่สุขนัก แต่ก็เหมือนมีบุญเก่าช่วย คุณพ่ออรุณ คุณแม่บุญเลิศ จึงช่วยให้ย้ายมาอยู่อำเภอจอมพระ
......ผมอยู่ในกลุ่มคนที่ไม่เอาดีเรื่องความรัก เรียนปริญญาตรีแล้วก็จีบสาวไม่เป็น ไม่มีแฟน ชีวิตสมรสของผมเป็นไปตามผู้ใหญ่เสนอแนะให้ ซึ่งผมก็เชื่อฟังผู้ใหญ่ ประกอบกับสถานการณ์ทางการเมือง ทำให้ผมต้องหลบภัย เจียมเนื้อเจียมตัว มีผู้ใหญ่คุ้มครองจะปลอดภัยกว่า ผมจึงย้ายมาอยู่โรงเรียนบ้านปะ อ.จอมพระ
ที่โรงเรียนบ้านปะ ผมมีความสุขมาก มีคุณครูทวีโชค งามชื่น ครูทวีชัย ชาวสวน ครูฉวีวรรณ ประจันทร์ และครูขาว จินดาศรี เป็นครูช่วยสอย เด็ก ๆ แทบจะไม่ขาดเรียนเลย สอนง่าย ชาวบ้านสนับสนุนดีมาก ผมมองเห็นความดีของชาวส่วยบ้านปะ และเริ่มมองความดีของชาวส่วนทั่ว ๆ ไป
......ผมอยู่โรงเรียนบ้านปะ ได้ 1 ปี มีอันต้องย้ายที่ทำงาน โดยหมวดการศึกษาขอให้ไปเป็นวิชาการอำเภอ วิชาการอำเภอก็คือศึกษานิเทศก์นี่แหละ ผมเปิดตำราว่าด้วยการนิเทศก์ ก็พบว่า การนิเทศคือการช่วยเหลือครู (ทางวิชาการ) แต่ภาคปฏิบัติกับภาคทฤษฎีจะขัดแย้งกัน ผมทำหน้าที่ไม่ค่อยดีนัก ในปีนี้ (2521) หน่วยศึกษานิเทศก์จังหวัดสุรินทร์รับสมัครคัดเลือกเป็นศึกษานิเทศก์ ผมตั้งใจจะเป็นศึกษานิเทศก์ แต่เขากำหนดเงินเดือนระดับ 4 (C 4) ผมไปเรียนต่อ 2 ปี เงินเดือนไม่ขึ้นอยู่ 2 ปี เงินเดือนต่ำกว่า C4 อยู่ 1 ขั้น ก็เลยไม่ได้เป็นศึกษานิเทศก์
......ปี 2522 ผมลองไปสอบเรียนต่อปริญญาโท ทดสอบความรู้ตัวเองว่า จบมหาวิทยาลัยมาด้วยเกรด 2.23 จะสอบได้ไหม ผลปรากฏว่าสอบได้ จึงตัดสินใจเรียนต่อและก็เอาตัวรอดจบออกมาได้
ปี 2525 หลังการเปลี่ยนโครงสร้างเป็น สปช. มีการสอบคัดเลือกเป็นผู้ช่วยหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ ผมก็ลองสอบก็ได้เป็นผู้ช่วยหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ เริ่มต้นจากอำเภอจอมพระ สำโรงทาบ เมืองสุรินทร์ ศีขรภูมิ จอมพระ ชุมพลบุรี ผมรู้สึก..........ว่า การสอบเรียนต่อง่ายมาก สอบครั้งเดียวได้ แต่สอบเป็นหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ ผมสอบไม่ได้ ผมจึงเป็นผู้ช่วยฯ อยู่นานมากถึง 17 ปี ในที่สุดผมก็ได้เป็นหัวน้าการประถมศึกษาอำเภอ ในปี 2542
......ผมเริ่มเป็นหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอที่ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ที่นี้มีความสุขมาก สุขกับธรรมชาติ ป่าเขา ที่ยังอุดมสมบูรณ์ เทียบกับปี 2512 หลายโรงเรียนไปได้ด้วยจักรยานยนต์และเดินเท้า เรื่องรถยนต์โดยสารประจำทางหาไม่ได้ หลายหมู่บ้านประชาชนพูดภาษาไทยกลางไม่ได้
ปี 2543 ผมกลับมาและเริ่มจาก อ.ลำดวน และย้ายไปชุมพลบุรี ที่ชุมพลบุรีปี 2544 ประทับใจมาก ที่ว่าชุมพลบุรีไม่มีโจร ที่นั้นเกิดเหตุ โจรขโมยโทรทัศน์โรงเยนไปถึง 17 โรง ตำรวจยืนยันว่าชุมพลบุรีไม่มีโจร และก็จริง เพราะเมื่อจับโจรได้ เป็นโจรจากอำเภอสตึก จ.บุรีรัมย์
-4-
......ปี 2545 ผลย้ายมา อ.สำโรงทาบ และปี 2546 ผมย้ายมาก อ.จอมพระ และเข้าสู่เขตพื้นที่การศึกษา
เมื่อเข้าสู่เขตพื้นที่การศึกษา หัวหน้าการประถมศึกษา ศึกษาธิการอำเภอ ก็ หาตำแหน่งไม่ได้ หาอนาคตไม่เจอ ผู้อาวุโสหลายคนจึงอำลาชีวิตราชการ ผมก็เกือบไปแต่ทางครอบครัวยับยั้งไว้ จึงอยู่มาจนถึงวันนี้
ทำไมต้องมังสะวิรัติ
......ผมตั้งต้นเจ้าวัดปฏิบัติธรรม เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2529 ที่อำเภอสำโรงทาบ ด้วยแรงสะเทือนจาก พลตรีจำลอง ศรีเมือง นักปฏิบัติธรรมที่สมัครรับเลือกตั้ง เป็นผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานคร ผมจึงถือวันที่สมเด็จย่าเสร็จฯ เยือนราษฎรที่บ้านหนองฮะ อ.สำโรงทาบ และได้รับหนังสือเล่มเล็กเล่มหนึ่งที่ชื่อว่า พระพุทธเจ้าสอนสอนอะไร ผมเริ่มต้นที่วัดป่าหนองไผ่ล้อม อ.สำโรงทาบ ด้วยการทำวัดเย็น นั่งสมาธิทุกวัน และเริ่มต้นรักศีล โดยไม่รู้ตัว..... ผ่านไป 1 ปี ด้วยจริตแท้ของผมคือ ชอบการบำเพ็ญประโยชน์ ชอบกิจกรรมครบวงจร การปฏิบัติธรรมต้องครบพร้อมที่เกี่ยวกับชีวิตเสียงกับสังคม ประกอบกับได้ไปพบ............สนทนาธรรม กับพระสงฆ์ที่พุทธศาสนาศรีษะอโศก ผมจึงเริ่มหันมาทางปฏิบัติตามแนวทางของชาวอโศก
......นั่นคือการประพฤติปฏิบัติแต่งอย่างมีหลักมีเหตุมีผล การกินมังสะวิรัติเป็นการไม่เบียดเบียนสัตว์ เป็นความเมตตากรุณาต่อสัตว์ เป็นการแผ่เมตตาที่แท้จริง เหนือกว่าปากพูด” สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด........... เป็นสุขได้อย่างไร เมื่อมนุษย์ ที่อ้างว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ เบียดเบียนเขา ฆ่าเขาทุกวัน ถ้าชาวพุทธรักษาศีลข้อ 1 ได้ชาวพุทธจะเอาเนื้อสัตว์ที่ไหนมากินทำไมต้องเป็นผู้บริหารการศึกษา
......เมื่อผมเป็นครูใหญ่ ครูน้อย และภารโรง โรงเรียนบ้านหนองโจงโลง ในปี 2514 ........................... ก็คือ กำลังใจ ผมคิดว่าถ้าผมเป็นบริหารการศึกษา ผมจะเป็นผู้สนับสนุนส่งเสริม ให้กำลังใจแก่ผู้บริหารโรงเรียนและครู ให้เป็นนักรบทางการศึกษา รบอย่างองอาจ กล้าหาญ แต่เอาเข้าจริงผมก็ทำได้ไม่ดีนัก แต่ยืนยันได้ว่า ผมรักและเห็นใจโรงเรียนขนาดเล็กมากที่สุด เพราะซาบซึ้งมาด้วยตนเอง
ความสำเร็จหรือความล้มเหลว
......ชีวิตจากรากหญ้า ลูกชาวนา จากบ้านนอก เติบโตมาได้ขนาดนี้ ถือว่าเกินคุ้ม อาจได้กำไรเกินควรด้วยซ้ำ บทเรียนชีวิตมีสิ่งที่ควรแก่การปรับปรุง แก้ไขมากมาย ที่แก้ไขได้ก็แก้ไข แต่ถ้าแก้ไขชาตินี้ไม่ได้ หากชาติหน้ามีก็จะพยายาม ความตั้งใจที่จะสร้างประโยชน์สุข แก่งมหาชนทั้งหลาย เป็นสิ่งที่ดีและสมรรถภาพกายใจยังต้องสร้าง ควรเรียนรู้พัฒนาตนเองตามแนวพุทธให้ยิ่งกว่านี้ ชีวิตส่วนปัจเจกบุคคลอาจดูดี มีความสุข แต่หากมองไปยังพี่น้องประชาชน ชาวนาชาวไร่ เพื่อนฝูงสมัยเด็ก ๆ อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ เป็นชาวนาชาวไร่ยากไร้ ฝนแล้งทำนาทำไร่ไม่ได้ ฝนหนักน้ำท่วมข้าวเสียหายหมด ปุ๋ยแคมีขึ้นราคา 3 เท่า ราคาข้าวกำหนเองไม่ได้ ใครจะช่วยชาวนาได้ ควรเก็บไปตอบในชาติข้างหน้า (ถ้ามี)